วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 4 ทัศนศึกษาที่ชายหาดบางแสน

กิจกรรมการเรียนรู้นอกสถานที่และการบำเพ็ญประโยชน์ ที่ ชายหาดบางแสน

ถ่ายรปเป็นที่ระลึกที่ป้ายหาดบางแสน

อาจารย์อธิบายรายละเอียดและชี้แจง

กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เก็บขยะ

ถ่ายรูปรวมหลังเก็บขยะเสร็จ


วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ประเภทบุคคล


พ่อคำเดื่อง  ภาษี - ปราชญ์ชาวบ้าน 

นักคิด นักพูด นักปฏิบัติแห่งยุค   

ตอนที่ 1
ตอนที่ 2
ประวัติ
   ที่อยู่ : 40 ม.8 ต.หัวฝาย กิ่งอำเภอแคนดง จ.บุรีรัมย์
   แหล่งที่มา : มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดี  จังหวัดขอนแก่น
   ความเป็นมา : พ่อคำเดื่อง ภาษี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2495 เป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาลูกๆ 7 คน         ของพ่อไพร และแม่สี ภาษี แต่งงานกับนางอมร งามชัด    ลูกสาวผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองแก ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีลูกชาย 2 คน และลูกสาว 1 คน
รายละเอียดโครงการกิจกรรม : ทำเกษตรธรรมชาติในพื้นที่ 50  ไร่  ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก  ตั้งแต่การปลูกไผ่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา ปลูกพืชนานาชนิด ซึ่งชีวิตก็อยู่ได้อย่างมีความสุข

องค์ความรู้ที่ได้รับ
    ได้รับแนวคิดจากคำพูดที่ว่า "เราต้องคิดว่าเราคือผู้แพ้สงครามเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้สารเคมีจนดินเสื่อมหมดแล้ว เป็นหนี้สินพ้นตัว หนีมาพื้นแผ่นดินใหม่ มีพริก มะเขือ ผักชนิดต่าง ๆ ไก่บ้าน ปลาในบ่อ เป็นพลทหาร จะระดมพลออกรบเมื่อไหร่ก็ได้ มีพืชสมุนไพรผักพื้นบ้านเป็นยา ใช้รักษายามเจ็บไข้ มีลูกยอ กล้วย เป็นนายสิบ มีไผ่เป็นนายร้อย มียางนา ตะเคียนทอง เป็นนายพัน นายพล โดยมีเจ้าของสวนเป็นจอมทัพ สะสมกำลังอยู่ในพื้นที่เล็ก ๆ เพียงหนึ่งไร่ ไม่ต้องหวังร่ำรวย เอาแค่พออยู่พอกิน หวังสร้างทรัพย์สินทางปัญญาเป็นมรดกให้ลูกหลาน ทำอย่างนี้เท่านั้นที่จะนำพาชีวิตครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติไปสู่ชัยชนะได้ " 
ผลงานเด่น/รางวัลเกียรติยศ

  1. างวัลคนดีศรีสังคม ปี 2535
  2. ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 1 เมื่อปี 2544
  3.  ปราชญ์ชาวบ้าน
จุดเด่น
      เป็นปราญชาวบ้านคนหนึ่งที่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียง และได้มีการนำความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบพอเพียงไปเผยแพร่แก่ผู้อื่น เพื่อทำให้ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศของเศรษฐกิจพอเพียง


ลุงแปลกแห่งสวนบ้านนาหลังคาแดง

ประวัติ
    นายแปลก เดชะบุญ อายุ ๖๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๘ หมู่ ๖ บ้านสันนายาว ตำบลศรีค้ำ
อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นคนแม่จันโดยกำเนิด
     “ลุงแปลกแห่งสวนบ้านนาหลังคาแดง” คือชื่อเจ้าของพื้นที่ แห่งนี้ที่ชาวบ้านมักจะเรียกขานอย่างเป็นกันเอง พร้อมกับสโลแกนที่ ลุงแปลก ติดป้ายหน้าประตูทางเข้าว่า “แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่ชีววิถีวัฒนธรรม ล้านนา สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ดินแดนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”
     “ลุงแปลก” หรือชื่อเต็มว่า นายแปลก เดชะบุญ เป็นคนแม่จัน จังหวัดเชียงรายโดยกำเนิด อดีตข้าราชการครูสังกัดวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยีเชียงราย ซึ่งใช้ชีวิตส่วนหนึ่งเก็บเกี่ยวประสบการณ์กับการทำโครงการพิเศษเกี่ยวกับพี่น้องชาวบ้านและชุมชนทั้งพื้นราบและบนดอย การเข้าร่วมโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง โครงการชีววิถีเพื่อพัฒนาแบบยั่งยืน เวทีสมัชชาสุขภาพและเครือข่ายบ้านจุ้มเมืองเย็น อำเภอแม่จัน และสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่จัน
อาจารย์แปลกได้ลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 เพื่อมาสานต่องานที่ตนเองรัก โดยการนำที่ดินซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจากรุ่นพ่อแม่ที่มีอาชีพทำนา ปลูกผัก พืชไร่ มาปรับเปลี่ยนเป็นสวนเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกทุกอย่างที่กินได้ กินทุกอย่างที่ปลูก ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ทำการเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (เกษตรอินทรีย์) และที่สำคัญคือการทำให้พื้นดินแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย
องค์ความรู้ที่ได้รับ
     ได้รับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในการใช้ชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ได้รู้จักการแบ่งปันซึ่งการแบ่งปันในที่นี้ไม่ใช่การแบ่งปันสิ่งของหรือเงินทอง หากแต่เป็นการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบพอเพียง การใช้ชีวิตแบบพอเพียง และการแบ่งปันความสุขที่ตนเองได้รับให้กับผู้อื่นได้มีโอกาสได้รับความสุขแบบนี้บ้าง
ผลงานเด่น/รางวัลเกียรติยศ
  1.  คนดีศรีแผ่นดิน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์
  2.  ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ปี 2554
  3.  ปราชญ์ชาวบ้าน
  4.  ผู้นำเครือข่ายองค์กรพัฒนาชุมชนดีเด่น กระทรวงมหาไทย ปี 2549
จุดเด่น
     เป็นการนำแนวคิดเกี่ยวกับเสรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงมาทำการเผยแพร่ และบอกต่อความสุขที่ได้จากการทำตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

ที่มา : http://news.sanook.com/education/education_83377.php

สัปดาห์ที่ 2 รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

บันทึกสะท้อนคิดหัวข้อที่ 2

จากแหล่งการเรียนรู้ 31 แห่ง สามรถแบ่งตามประเภทของแหล่งการเรียนรู้ได้ ดังนี้

  • แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ สวนพฤษศาสตร์ภาคใต้(ทุ่งค่าย)
  • แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ ได้แก่ สวนสัตว์เชียงใหม่   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่  พิพิธภัณฑ์บ้านจ่าเทวี   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติตำบลไทรย้อยเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร   พระธาตุเรืองรอง   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี   สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   สวนสัตว์นครราชสีมา  สวนสัตว์สงขลา  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเฉลิมราชกุมารี  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต       สวนสัตว์ดุสิต  สวนสัตว์เปิดเขาเขียว  หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์  หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  หอศิลปวิทยนิทรรศน์   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป   สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล   เมืองโบราณ  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.)   พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย   พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเฉลิมราชกุมารีจังหวัดราชบุรี
  • แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม ได้แก่  ศูนย์การกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

การวิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ 52 แห่ง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก




   

  •      เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภท  แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่
  •      กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่มีความสนใจทุกคน ที่ปัจจุบันนี้อยู่ในยุคของวัตถุนิยมและเครื่องมือIT และเยาวชนที่กำลังจะลืมเลือนและไม่รู้จักกับรากเหง้าของตนเองว่า ในอดีตนั้นมีการเป็นอยู่อย่างไร ให้ได้รู้จักกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนรุ่นหลัง ได้สัมผัสกับกลิ่นไอของวิถีชีวิตเหล่านั้น จากสิ่งของและภาพถ่ายที่ได้ทำการจัดแสดงไว้ และเพื่อเป็นการซึมซับเพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป
  •      วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการชมและสัมผัสกับของจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ง่ายกว่าการเรียนแค่ในห้องเรียน
  •      วิธีการที่ใช้ในการนำเสนอ ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงภาพ การจัดแสดงอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆ
  •      วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน คือ การที่ได้สัมผัสกับของจริง พร้อมกับการบรรยายจากมัคคุเทศ
  •      เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ผู้ที่สนใจนั้นสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดเวลาทำการของพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นคนในวัยใดก็สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
ที่มา : http://sawasdee-padriew.com/board/index.php?topic=1209.0
            http://www.sarakadee.com/2011/04/04/sgttawee/
            http://www.learners.in.th/blogs/posts/359690

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1 สร้างความคุ้นเคยกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

บันทึกสะท้อนคิดหัวข้อที่ 1 

คือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่รู้จักโดยบันทึกมา 5 แหล่ง ในจังหวัดที่นิสิตสนใจ และวิเคราะห์ว่าจัดอยู่ในประเภทใด

1. วังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี

จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่11 กรกฎาคม พ.ศ. 2232
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
ที่มาข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
2. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งเวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
       เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ หรือ 966 ตารางกิโลเมตร
ที่มาข้อมูล http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=36&lg=1

3. ตักบาตรดอกไม้ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม
        ความเป็นมาของการตักบาตรนั้น มีแจ้งในพุทธตำนานว่านายมาลาการผู้ทำหน้าที่ ดอกมะลิสดไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งเมืองราชคฤห์เป็นประจำทุกวัน มาวันหนึ่งขณะที่นายมาลาการออกไปเก็บดอกมะลิอยู่ในสวน องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จออกบิณฑบาตผ่านมา นายมาลาการเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์ จึงนำดอกมะลิ ๘ กำมือ ไปถวายแด่พระพุทธองค์ พระเจ้าพิมพิสารราชาทรงทราบข่าวว่า พระศาสดาเสด็จออกบิณฑบาตรมาถึงใกล้ๆพระราชวังจนนายมาลาการได้พบปะและถวายดอกมะลิบูชา พระราชาจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายบังคม ต่อพระศาสดา แล้วเสด็จตามพระศาสดาไป ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา พระเจ้าพิมพิสารเลยบำเหน็จรางวัลความดีความชอบและพระราชทานสิ่งของทั้งปวงให้กับนายมาลาการนับแต่นั้นมานายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นปราศจากทุกข์ใดทั้งปวงด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทนการตักบาตรจากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาลชาวพุทธทั่วไปจึงถือเป็น ประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" เป็นประจำทุกปี ตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ที่มาข้อมูล http://student.nu.ac.th/jitrada/Central3.html

4. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง[1] เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
ที่มาข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

5. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล
เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ.118 (พ.ศ. 2442)
ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในงานพิธีเปิดนี้ จึงได้มีการสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก โดยมี สมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น - พระอาจารย์เสาร์ ร่วมพิธีปลุกเสกที่ วัดสุทธจินดา ชาวเมืองนครราชสีมารัก และหวงแหนเหรียญรุ่นนี้กันมาก เพราะถือกันว่านี่คือ เหรียญแห่งชัยชนะ เพื่อศรีสง่าแห่งบ้านเมือง และเชิดชูเกียรติ ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาล และทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นโบราณสถานวัตถุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480]ทั้งนี้ได้อัญเชิญอัฐิของท่านนำมาบรรจุไว้ที่ฐานรองรับ และประดิษฐานไว้ ณ ที่หน้าประตูชุมพล อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรี คนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 แล้วเสร็จ และ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477
ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา โดยนายสวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เป็นประธาน ได้ร่วมใจกันสร้าง ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
ทางจังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนชาวนครราชสีมา ได้การจัด งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อเป็นการเคารพสักการะ เชิดชูเกียรติ ในวีรกรรมของท้าวสุรนารี และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา จัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี