วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 1 สร้างความคุ้นเคยกับแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

บันทึกสะท้อนคิดหัวข้อที่ 1 

คือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่รู้จักโดยบันทึกมา 5 แหล่ง ในจังหวัดที่นิสิตสนใจ และวิเคราะห์ว่าจัดอยู่ในประเภทใด

1. วังนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี

จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่11 กรกฎาคม พ.ศ. 2232
ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์"
ที่มาข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
2. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งเวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
       เป็นอุทยานแห่งชาติที่สวยที่สุดแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวเขตกั้นระหว่างภาคอีสานและภาคเหนือ สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์ธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง มีเนื้อที่ประมาณ 603,750 ไร่ หรือ 966 ตารางกิโลเมตร
ที่มาข้อมูล http://www.dnp.go.th/parkreserve/asp/style1/default.asp?npid=36&lg=1

3. ตักบาตรดอกไม้ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร จังหวัดสระบุรี


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม
        ความเป็นมาของการตักบาตรนั้น มีแจ้งในพุทธตำนานว่านายมาลาการผู้ทำหน้าที่ ดอกมะลิสดไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร พระราชาแห่งเมืองราชคฤห์เป็นประจำทุกวัน มาวันหนึ่งขณะที่นายมาลาการออกไปเก็บดอกมะลิอยู่ในสวน องค์สมเด็จพระสัมมา-สัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จออกบิณฑบาตผ่านมา นายมาลาการเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธองค์ จึงนำดอกมะลิ ๘ กำมือ ไปถวายแด่พระพุทธองค์ พระเจ้าพิมพิสารราชาทรงทราบข่าวว่า พระศาสดาเสด็จออกบิณฑบาตรมาถึงใกล้ๆพระราชวังจนนายมาลาการได้พบปะและถวายดอกมะลิบูชา พระราชาจึงเสด็จพระราชดำเนินไปถวายบังคม ต่อพระศาสดา แล้วเสด็จตามพระศาสดาไป ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา พระเจ้าพิมพิสารเลยบำเหน็จรางวัลความดีความชอบและพระราชทานสิ่งของทั้งปวงให้กับนายมาลาการนับแต่นั้นมานายมาลาการก็อยู่อย่างร่มเย็นปราศจากทุกข์ใดทั้งปวงด้วยอานิสงส์ของการนำดอกมะลิบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแทนการตักบาตรจากอานิสงส์ดังกล่าวแต่ครั้งพุทธกาลชาวพุทธทั่วไปจึงถือเป็น ประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" เป็นประจำทุกปี ตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้
ที่มาข้อมูล http://student.nu.ac.th/jitrada/Central3.html

4. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง[1] เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
ที่มาข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87

5. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา


จัดอยู่ในประเภทแหล่งการเรียนรู้ที่เป็นบุคคล
เมื่อท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปีพุทธศักราช 2395 อายุ 81 ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดีผู้เป็นสวามี ได้ฌาปนกิจศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอยซึ่งท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ครั้นเมื่อยังเป็น พระยาประสิทธิศัลการ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา องคมนตรี และรัฐมนตรี ได้บริจาคทรัพย์สร้างกู่ขนาดเล็ก บรรจุพระอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ที่วัดกลาง (วัดพระนารายณ์มหาราช) สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ร.ศ.118 (พ.ศ. 2442)
ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก อีกทั้งยังอยู่ในที่แคบ ไม่สมเกียรติ พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นายพันเอกพระเริงรุกปัจจามิตร (ทอง รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 5 พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา ได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีด้วยสัมฤทธิ์ ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับ พระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) ประติมากรเลื่องชื่อในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในงานพิธีเปิดนี้ จึงได้มีการสร้างเหรียญไว้เป็นที่ระลึก โดยมี สมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระคณาจารย์สายพระอาจารย์มั่น - พระอาจารย์เสาร์ ร่วมพิธีปลุกเสกที่ วัดสุทธจินดา ชาวเมืองนครราชสีมารัก และหวงแหนเหรียญรุ่นนี้กันมาก เพราะถือกันว่านี่คือ เหรียญแห่งชัยชนะ เพื่อศรีสง่าแห่งบ้านเมือง และเชิดชูเกียรติ ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาล และทางกรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นโบราณสถานวัตถุแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480]ทั้งนี้ได้อัญเชิญอัฐิของท่านนำมาบรรจุไว้ที่ฐานรองรับ และประดิษฐานไว้ ณ ที่หน้าประตูชุมพล อนุสาวรีย์หล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที สี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่าน แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรี คนแรกของประเทศ เริ่มก่อสร้างในปี 2476 แล้วเสร็จ และ มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2477
ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ฐานอนุสาวรีย์ชำรุด ข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา โดยนายสวัสดิวงศ์ ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น เป็นประธาน ได้ร่วมใจกันสร้าง ฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี ขึ้นใหม่ ณ ที่เดิม เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง และเชิดชูเกียรติท้าวสุรนารี วีรสตรีไทยตลอดกาลนาน แล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510
ทางจังหวัดนครราชสีมา หน่วยงานราชการต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนชาวนครราชสีมา ได้การจัด งานฉลองวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) เป็นงานประจำปีของจังหวัด เพื่อเป็นการเคารพสักการะ เชิดชูเกียรติ ในวีรกรรมของท้าวสุรนารี และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา จัดขึ้นบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด กำหนดจัดระหว่างวันที่ 23 มีนาคม - 3 เมษายน ของทุกปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น