วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สัปดาห์ที่ 2 รูปแบบการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

บันทึกสะท้อนคิดหัวข้อที่ 2

จากแหล่งการเรียนรู้ 31 แห่ง สามรถแบ่งตามประเภทของแหล่งการเรียนรู้ได้ ดังนี้

  • แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ สวนพฤษศาสตร์ภาคใต้(ทุ่งค่าย)
  • แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่ ได้แก่ สวนสัตว์เชียงใหม่   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเชียงใหม่  พิพิธภัณฑ์บ้านจ่าเทวี   ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้  ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติตำบลไทรย้อยเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดมุกดาหาร   พระธาตุเรืองรอง   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี   สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น   สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม   สวนสัตว์นครราชสีมา  สวนสัตว์สงขลา  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช   ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเฉลิมราชกุมารี  สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต       สวนสัตว์ดุสิต  สวนสัตว์เปิดเขาเขียว  หอสมุดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์  หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  หอศิลปวิทยนิทรรศน์   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป   สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล   เมืองโบราณ  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.)   พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย   พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา  ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเฉลิมราชกุมารีจังหวัดราชบุรี
  • แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นกิจกรรม ได้แก่  ศูนย์การกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร

การวิเคราะห์แหล่งการเรียนรู้ จากแหล่งการเรียนรู้ 52 แห่ง

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี จังหวัดพิษณุโลก




   

  •      เป็นแหล่งการเรียนรู้ประเภท  แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นสถานที่
  •      กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่มีความสนใจทุกคน ที่ปัจจุบันนี้อยู่ในยุคของวัตถุนิยมและเครื่องมือIT และเยาวชนที่กำลังจะลืมเลือนและไม่รู้จักกับรากเหง้าของตนเองว่า ในอดีตนั้นมีการเป็นอยู่อย่างไร ให้ได้รู้จักกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนรุ่นหลัง ได้สัมผัสกับกลิ่นไอของวิถีชีวิตเหล่านั้น จากสิ่งของและภาพถ่ายที่ได้ทำการจัดแสดงไว้ และเพื่อเป็นการซึมซับเพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตเหล่านี้ให้คงอยู่ต่อไป
  •      วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือ การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการชมและสัมผัสกับของจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ง่ายกว่าการเรียนแค่ในห้องเรียน
  •      วิธีการที่ใช้ในการนำเสนอ ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การจัดแสดงภาพ การจัดแสดงอุปกรณ์หรือสิ่งของต่างๆ
  •      วิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และกลุ่มผู้เรียน คือ การที่ได้สัมผัสกับของจริง พร้อมกับการบรรยายจากมัคคุเทศ
  •      เป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ที่ผู้ที่สนใจนั้นสามารถเข้าเยี่ยมชมได้ตลอดเวลาทำการของพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นคนในวัยใดก็สามารถเข้าเยี่ยมชมได้
ที่มา : http://sawasdee-padriew.com/board/index.php?topic=1209.0
            http://www.sarakadee.com/2011/04/04/sgttawee/
            http://www.learners.in.th/blogs/posts/359690

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น